วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

วัดพระศรีอารย์

วัดพระศรีอารย์ มีอายุประมาณ ๒๖๐ ปี เป็นวัดเก่าแก่สร้าง มาแต่สมัยปลายกรุงศรีอยุธยา เดิมวัดพระศรีอารย์ ชื่อ วัดสระอาน สันนิษฐานว่า วัดพระศรีอารย์ได้เริ่มก่อสร้างเมื่อ ประมาณปี ๒๒๗๕ ซึ่งแต่ก่อนเป็นวัดสร้างยังไม่มี พระภิกษุ มาอยู่จำพรรษา เป็นวัดเก่าที่มีมาช้านาน มีผู้พบอุโบสถก่ออิฐ ถือปูน ขนาดกว้าง ๔ เมตร ยาว ๙ เมตร เป็น อุโบสถมหาอุด มีทางเข้าด้านหน้าเพียงด้านเดียว มีสระน้ำโบราณอยู่คู่กับ อุโบสถด้านทิศเหนือ ขณะที่ค้นพบมีสภาพเก่าและชำรุดทรุดโทรมเป็นอย่างมาก ภายในอุโบสถมีพระประธานที่เก่าแก่ เป็นอิฐเผาถือปูน บริเวณรอบๆ อุโบสถเป็นป่ามีต้นไม้น้อยใหญ่ขึ้นปกคลุมอยู่ จนถึงประมาณปี ๒๔๗๕ เริ่มมีพระภิกษุเข้ามาพักจำพรรษา เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ในปี ๒๕๐๐ ได้เปลี่ยนชื่อจาก วัดสระอาน มาเป็น วัดพระศรีอารย์

วัดศรีอารย์ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันได้ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของชุมชนตลอดมา และได้สร้าง อุโบสถหลังใหม่ขึ้น เป็นสถาปัตยกรรมที่ทรงคุณค่า มีความวิจิตรตระการตา ประดับด้วยลายปูน ปั้นในรูปลักษณ์ต่างๆ อย่างงดงาม มั่นคง อย่างลงตัวทั้งหลัง อุโบสถทองคำร้อยล้านก่อสร้างเมื่อปี ๒๕๑๐ โดย พระครูสิริพัฒนกิจ (หลวงพ่อขันธ์ กนฺตธโร) อดีตเจ้าวัดพระศรีอารย ์ เป็นผู้ริเริ่ม และได้รับ พระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๑๐ การก่อสร้าง อุโบสถครั้งนี้ เพื่อใช้เป็น สถานที่ประกอบพิธีกรรมของภิกษุสงฆ์ อีกทั้ง ยังเป็น กาาแสดงถึงมรดกของไทย ด้านศิลปกรรม และจิตรกรรม อุโบสถทำจากคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาดกว้าง ๑๘ เมตร ยาว ๔๐ เมตร ประดับด้วยลวดลายรูปปั้น เป็นฝีมือช่างพื้นบ้าน อุโบสถหลังใหม่นี้ไม่มี แบบสำเร็จรูป เป็นการสร้างตามแบบที่หลวงพ่อขันธ์ ต้องการ และที่ สำคัญไม่มีการตอกเสาเข็ม เพราะ ในสมัยนั้น การก่อสร้างในต่างจังหวัด ยังไม่มีการ ตอกเสาเข็ม เพียงแต่นำหินมาถมและเทคานรองรับเพื่อสร้างตัวอุโบสถได้เลย

ช่างผู้รับงานก่อสร้างเป็นคนบ้านพระศรีอารย์ ส่วนแรงงานเป็นการลงแรงของคนในชุมชน และใกล้เคียง ส่วนมากทำในเวลาที่ว่างจากงานประจำของชาวบ้าน กระทั่งในปี ๒๕๑๗ เกิดน้ำท่วมใหญ่ ทำให้ชาวบ้านหวั่นวิตกว่า อุโบสถที่อยู่ระหว่าง ก่อสร้างจะพังลงมา เพราะไม่มีเสาเข็ม แต่หลัง จากน้ำลดลงแล้ว ไม่ปรากฏความเสียหายใดๆ การก่อสร้างต้องหยุดชะงักลงระยะหนึ่ง เมื่อหลวงพ่อขันธ์มรณภาพ พระครูวิทิตพัฒนโสภณ (สง่า ฐานิสฺสโร) เจ้าอาวาสวัดพระศรีอารย์ รูปปัจจุบันได้เป็นผู้สานต่องานทั้งหมด

ต่อมา นายประเสริฐ อรชร ได้เข้ามารับช่วงการก่อสร้างต่อ จึงได้ดำเนินการเทคานรอบตัวอาคาร อีกครั้ง เพื่อความมั่นคง การก่อสร้างในสมัยที่นายประเสริฐเข้ามารับงานนี้ เป็นการตกแต่งเพื่อความสมบูรณ์มากกว่า เพราะโครงสร้างของอาคาร ได้เสร็จก่อนหน้านี้แล้ว

ดังนั้น งานใหญ่ที่สำคัญคือ การติดลายปูนปั้นต่าง ทั้งภายในและรอบนอกอุโบสถ ส่วนพระประธานในอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะพม่า สร้างด้วยหยกขาวทั้งองค์ โดยมี หลวงพ่ออุตตมะ (พระราชสังวรอุดม) วัดวังก์วิเวการาม จ.กาญจนบุรี เป็นประธานในการอัญเชิญ มาประดิษฐานไว้ ณ อุโบสถร้อยล้านหลังนี้ เมื่อวันที่ ๓ มกราคม ๒๕๓๖ ภายในติดกระจก ลงรักปิดทองบานประตู หน้าต่าง แกะสลักเรื่อง พุทธประวัติ ฝาผนัง แต่งแต้มด้วย จิตรกรรม เรื่องพระมหาชนก พระเจ้า ๕ พระองค์ พระประธานในอุโบสถ สร้างจากหินหยกขาว ซึ่งหลวงพ่อ อุตตมะ แห่งวัดวังวิเวการาม จ.กาญจนบุรี เมตตาอธิฐานจิต อัญเชิญมา จากประเทศพม่า มาประดิษฐานที่ประเทศไทย ณ อุโบสถวัดพระศรีอารย์ และการก่อสร้างอุโบสถทองคำร้อยล้าน วัดได้รับการถวายประตูอุโบสถจาก นายเกรียงไกร เชษฐโชติศักดิ์ ประธานบริษัท อาร์.เอส.โปรโมชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นจำนวนเงิน ๑ ล้านบาท หลังจากนั้นทุกปีนายเกรียงไกรก็จะมาช่วยงาน ที่วัดพระศรีอารย์เป็นประจำ

2 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ9 เมษายน 2559 เวลา 16:24

    งานวัด ตลาดนัด งานEXPO ฟังเพลง แปรงฟัน กินข้าว ประชุม หายใจ อาบน้ำ ซักผ้า ช่องจอดรถ เดินฯลฯ มองดูเหมือน สิ่งแวดล้อม ชีวิต ความรู้สึก นึกคิด

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ9 เมษายน 2559 เวลา 16:25

    คนเป็นสิ่งสูงสุด เพียงสน ใจ ตัว เอง

    ตอบลบ