วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Picasso


ประวัติ
"ปาโบล รุยซ์ ปีกัสโซ"Pablo Ruiz Picasso(1881-1973)
เกิดเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ.1881 ที่เมืองมาลาก้า แถบชายฝั่งทะเล เมดิเตอร์เรเนียน ของประเทศสเปน บิดาของปิกาสโซ่เป็นครูสอนศิลปะและเป็นผู้เล็งเห็นความ เป็นอัจฉริยะในตัวของบุตรชายของตน จึงส่งปิกาสโซ่เข้าศึกษาในสถาบันสอนศิลปะในเมืองบาเซโลน่า ซึ่งเป็นสถาบันที่บิดาของเขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นโปรเฟสเซอร์เมื่อปี ค.ศ.1896 ปิกาสโซ่ได้รับ ความรู้ด้านการเขียนภาพแบบเรียวลิสติก เมื่อเขามีอายุได้ 16 ปี ก็มีสตูดิโอเป็นของตนเองที่ ในเมืองบาเซโลน่า และในปี ค.ศ. 1900 เขาได้ไปเยือนปารีสเป็นครั้งแรกและตัดสินใจที่จะใช้ ชีวิตอยู่ที่นั่น ในปี ค.ศ.1904 รูปแบบการเขียนภาพของปิกาสโซ่ เปลี่ยนเป็นช่วงๆ โดยในปี ค.ศ.1901 ถึง 1904 จัดเป็น ยุคสีฟ้า เพราะเป็นช่วงที่ปิกาสโซ่ นิยมใช้โทนสีฟ้าในการเขียนรูป และในปี ค.ศ.1905 ปิกาสโซ่ได้รับความสำเร็จจากงานที่เขาเขียนมากขึ้น จึงเริ่มเปลี่ยนแปลงสีที่ใช้ โดยค้นหาสีใหม่ จากจานวีของเขาเอง ในที่สุด สีฟ้าที่ใช้อยู่แทบทุกวันก็เริ่มหายไป กลายมาเป็นสีน้ำตาลปนแดง เข้ามาแทน และด้วยความพยายามของเขาที่จะให้มีความเศร้าในงานที่เขาเขียนน้อยที่สุด ปิกาสโซ่จึงเพิ่ม นักเต้นรำ นักกายกรรม และตัวตลก เข้ามาไว้ในภาพของเขาภาพทั้งหมด ที่เขาเขียนในระหว่างปี ค.ศ.1905-1907 นี้ถูกจัดเป็นยุคสีกุหลาบ ปีค.ศ.1907 ปิกาสโซ่ได้เปลี่ยนแปลงแนวทางในการวาดรูปใหม่ โดยได้เขียนภาพที่ชื่อ " Les Demoiselles d’Avignon " ภาพที่เขียนขึ้นมานี้ แสดงให้เห็นว่า ปิกาสโซ่ได้เกิดความหลงใหล ในศิลปะแบบดั้งเดิม จำพวกงานแกะสลัก และโดยเฉพาะศิลปะของแอฟริกา ภาพนี้ถือเป็นจุดกำเนิด ของความเปลี่ยนแปลงทางศิลปะขึ้น เพราะปิกาสโซ่ได้คิดค้นศิลปะแบบใหม่ โดยยึดเอาหลักการ ของลูกบาศก์มาใช้ และเขียนในทำนองเพ้อฝัน เขาได้ทำการทดลองในการวิเคราะห์รูปทรงทาง เรขาคณิต โดยร่วมมือกับบรรดาเพื่อนฝูงของเขา ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ จอร์เจส บากค์ จนกระทั่ง ในปี ค.ศ.1921 ภาพเขียนที่ชื่อว่า " นักดนตรีทั้งสาม " ( The three Musicians ) ก็ได้ถูกเขียนขึ้น ถือเป็นหนึ่งในความสำเร็จที่ได้รับจากการนำทฤษฎีใหม่นี้มาใช้ ในปี ค.ศ.1917 ปิกาสโซ่ตัดสินใจไปยังกรุงโรม เพื่อออกแบบเครื่องแต่งกายและออกแบบฉาก ให้กับคณะบัลเล่ต์ ด้วยการทำงานในแนวนี้ ถือเป็นการขยายขอบเขตของการสร้างสรรค์ให้กับตนเอง ในปี ค.ศ.1918-1925 ปิกาสโซ่ได้เริ่มต้นที่จะเขียนภาพไปในแนวคลาสสิกอีกครั้งนับตั้งแต่วันแรก ที่ปิกาสโซ่ตัดสินใจมาอยู่ที่ปารีสเมื่อ ค.ศ.1904 ไปจนถึงปี ค.ศ.1911 และรวมไปถึงวันที่ เขาเสียชีวิตลงนั้น ปิกาสโซ่ได้ผัวพันอยู่กับผู้หญิงหลายคน คนแรกคือ มาร์แชล ฮัมแบท ต่อมาใน ปี ค.ศ.1918 เขาได้แต่งงานกับนักเต้นบัลเล่ย์ชาวรัสเซีย ชื่อว่า โอลก้า โคโคลวา แต่ต่อมาก็แยก ทางกัน และถึงขั้นหย่าร้างไปในที่สุด ปิกาสโซ่มีบุตรกับโอลก้า 1 คน ชื่อ เปาโล โอลก้าเสียชีวิตลง ในปี ค.ศ.1955 เมื่อปิกาสโช่อายุได้ 80 ปี เขาได้แต่งงานใหม่ในปี ค.ศ.1961 กับหญิงสาวที่เป็น นางแบบให้เขาเขียนภาพนั่นเอง เธอมีชื่อว่า แจ็คเกอรีน โร้ค ช่วงเวลาระหว่างการแต่งงาน ทั้งสองครั้งนี้ ปิกาสโซ่ได้ใช้ชีวิตอยู่กับผู้หญิงอีกหลายคน ซึ่งต่างคนต่างก็มีอิทธิพลต่อการเขียนรูป ของเขา หญิงสาวที่เป็นที่รักยิ่งของเขา คือ มาเรีย เทสเซ่ วอร์เตอร์ ซึ่งเขาได้พบเมื่อตอนต้นปี ค.ศ.1930 และภายหลังได้กลายมาเป็นมารดาให้กับลูกสาวของเขานามว่า มาเรีย นอกจากวอร์เตอร์ แล้ว ดอร่าแมท์ หญิงสาวชาวยูโกสลาเวีย ที่เขาพบในปี ค.ศ.1936 และผู้หญิงอีกคนในชีวิตของ เขาก็คือ ฟรานซิส จีลอต จีลอตอยู่กินกับปิกาสโซ่ตั้งแต่ปี ค.ศ.1946 ไปจนถึงปี ค.ศ.1953 และได้ให้กำเนิดบุตรกับปิกาสโซ่ 2 คน คือ คลาว ซึ่งเกิดเมื่อปี ค.ศ.1947 และปาโลมา ซึ่งเกิดหลังจากคลาว 2 ปี ด้วยการที่ปิกาสโซ่ได้พบกับจีลอตนั้น ทำให้ปิกาสโซ่เกิดแรงบันดาลใจ ที่จะเขียนรูปไปในทางตำนานต่างๆ เช่นเขียนรูปของ ฟอน นิมส์ เซนต์ทอรส์ และไปเปอร์ ปิกาสโซ่ใช้ชีวิตอยู่ที่ฝรั่งเศส จนได้ผ่านสงครามโลกครั้งที่สองมาแล้ว แต่ในยุคที่ฝรั่งเศษตก เป็นเมืองขึ้นของเยอรมันนั้น ผลงานเขียนภาพของปิกาสโซ่ ก็ถูกระงับไว้ไม่ให้นำมาแสดง ในปี ค.ศ.1944 ปิกาสโซ่ได้เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ของฝรั่งเศษ และในปี ค.ศ.1955 ปิกาสโซ่ได้ย้ายไปอยู่ที่ริเวียร่าในฝรั่งเศษ ถึงแม้จะย้ายไป แต่ปิกาสโซ่ก็ยังคงทำงานต่อไปจนถึง อายุ 90 ปี ปิกาสโซ่เป็นศิลปินที่มีความรอบรู้ในหลายๆด้าน เขาสามารเป็นได้ทั้ง นักเซรามิกส์ ช่างแกะสลัก และศิลปินทางด้านงานกราฟฟิก ทรัพย์สมบัติต่างๆที่ปิกาสโซ่หามาได้นั้น ได้มีการตีราคาของ สมบัติทั้งหมดเป็นเงินถึง 300 ล้านดอลล่าร์ ปิกาสโซ่เสียชีวิตในวันที่ 8 เมษายน ของปี ค.ศ.1973 ที่มอร์กิส ประเทศฝรั่งเศส

วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Petit garçon

Petit garçon
Dans son manteau rouge et blanc
Sur un traîneau porté par le vent
Il descendra par la cheminée
Petit garçon, il est l'heure d'aller se coucher
Tes yeux se voilent
Ecoute les étoiles
Tout est calme, reposé
Entends-tu les clochettes tintinnabuler ?
Et demain matin petit garçon
Tu trouveras dans tes chaussons
Tous les jouets dont tu as rêvé
Petit garçon il est l'heure d'aller se coucher
Tes yeux se voilent
Ecoute les étoiles
Tout est calme, reposé
Entends-tu les clochettes tintinnabuler ?
Et demain matin petit garçon
Tu trouveras dans tes chaussons
Tous les jouets dont tu as rêvé
Petit garçon il est l'heure d'aller se coucher...

เพลงนี้เกี่ยวกับ "เด็กน้อย" ในคืนวันคริสต์มาส กล่าวถึง ช่วงเวลาที่ซานตาครอสนั่งเลื่อน เทียมกวางเรนเดียร์มาส่งของขวัญตามบ้านของเด็กๆ ช่วงเวลานี้เป็นเวลาที่เด็กจะต้องเข้า นอนกันแล้ว แต่พรุ่งนี้เมื่อเด็กน้อยตื่นขึ้นมาก็จะพบกับของขวัญอยู่ในถุงเท้ามากมายอย่างที่ วาดฝันเอาไว้

ซานตาครอส ในภาษาฝรั่งเศส คือ Le Père Noël เลอ แปร์ โนแอล

Christmas

ประวัติความเป็นมาของวันคริต์มาส ซึ่งเป็นวันประสูติของพระเยซูนั้น ตามหลักฐานในพระคัมภีร์บันทึกไว้ว่า พระเยซูเจ้าประสูติในรัชกาลของจักรพรรดิออกุสตุสแห่งจักรวรรดิโรมัน ซึ่งทรงสั่งให้จดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งแผ่นดิน โดยคีรีนิอัส เจ้าเมืองซีเรีย ก็รับนโยบายไปปฏิบัติให้มีการจดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งอาณาเขต แต่ในพระคัมภีร์ ไม่ได้ระบุว่า พระเยซูประสูติวันหรือเดือนอะไร ด้านนักประวัติศาสตร์วิเคราะห์ว่า เดิมทีวันที่ 23 ธันวาคม เป็นวันที่จักรพรรดิซาไกกำหนดให้เป็นวันฉลองวันเกิดของสุริยเทพ

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 274 ชาวโรมันซึ่งส่วนใหญ่นับถือเทพเจ้าฉลองวันนี้เสมือนว่า เป็นวันฉลองของพระจักรพรรดิไปในตัวด้วย เพราะจักรพรรดิก็เปรียบเสมือนดวงอาทิตย์ ที่ให้ความสว่างแก่ชีวิตมนุษย์ แต่ชาวคริสต์ที่อยู่ในจักรวรรดิโรมัน รวมถึงชาวโรมันที่เปลี่ยนไปนับถือคริสต์อึดอัดใจที่จะฉลองวันเกิดของสุริยเทพ จึงหันมาฉลองการบังเกิดของพระเยซูเจ้าแทน หลังจากที่ชาวคริสต์ถูกควบคุมเสรีภาพทางศาสนาตั้งแต่ปี ค.ศ. 64 - ค.ศ. 313 จนถึงวันที่ 23 ธันวาคม ปี ค.ศ. 330 ชาวคริสต์จึงเริ่มฉลองคริสต์มาสอย่างเป็นทางการและเปิดเผย
ต้นคริสต์มาส
ต้นคริสต์มาสหรือต้นสนที่นำมาประดับประดาด้วยดวงไฟหลากสีสัน การตกแต่งนี้ย้อนไปในศตวรรษที่ 8 เมื่อเซนต์บอนิเฟส มิชชันนารีชาวอังกฤษที่เดินทางไปประกาศเรื่องพระเจ้าในเยอรมนี ได้ช่วยเด็กที่กำลังจะถูกฆ่าเป็นเครื่องสังเวยบูชาที่ใต้ต้นโอ๊ก โดยเมื่อโค่นต้นโอ๊กทิ้งก็ได้พบต้นสนเล็กๆ ต้นหนึ่งขึ้นอยู่โคนต้นโอ๊ก ท่านจึงขุดให้คนที่ร่วมพิธีกรรมเหล่านั้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของชีวิต และตั้งชื่อว่า ต้นกุมารพระคริสต์ ต่อมา มาร์ติน ลูเธอร์ ผู้นำคริสตจักรชาวเยอรมัน ตัดต้นสนไปตั้งในบ้านในเดือนธันวาคม ปีค.ศ.1540 หลังจากนั้นในศตวรรษที่ 19 ต้นคริสต์มาสจึงเริ่มแพร่ไปสู่ประเทศอังกฤษและทั่วโลก
ซานตาคลอส
นักบุญ(เซนต์)นิโคลัสแห่งเมืองไมรา นักบุญองค์นี้เป็นสังฆราช ของ ไมรา มีชีวิตอยู่ในศตวรรษที่4 ได้รับการยกย่องให้เป็นซานตาคลอสคนแรก เพราะมาวันหนึ่ง เป็นวันคริตส์มาสเซนต์จึงเดินทางแจกของขวัญให้กับเด็กๆอย่างมีความสุข

วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553

หอเอนเมืองปิซ่า


หอเอนเมืองปิซา (อิตาลี: Torre pendente di Pisa หรือ La Torre di Pisa, อังกฤษ: Leaning Tower of Pisa) ตั้งอยู่ที่เมืองปิซา ในจัตุรัสเปียซซา เดล ดูโอโม (Piazza Del Duomo) หอระฆังของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก เป็นหอทรงกระบอก 8 ชั้น สร้างด้วยหินอ่อนสีขาว สูง 183.3 ฟุต (55.86 เมตร) น้ำหนักรวม 14,500 ตันโดยประมาณ มีบันได 293 ขั้น เอียง 3.97 องศา ยอดของหอห่างจากแนวตั้งฉาก 3.9 เมตร

การสร้าง

เริ่มสร้างเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ.1173 สร้างเสร็จเมื่อปี 1350 ใช้เวลาสร้างประมาณ 175 ปี แต่การก่อสร้างหยุดชะงักเมื่อสร้างไปได้ถึงชั้น 3 เนื่องจากพื้นใต้ดินเป็นพื้นดินที่นิ่ม ทำให้ยุบตัว ต่อมาในปี ค.ศ.1272 โดย Giovanni di Simone สร้างให้เอนกลับไปอีกด้านหนึ่งเพื่อให้สมดุล แต่การก่อสร้างในครั้งนี้ ก็ต้องหยุดชะงักลงอีกครั้งเนื่องจากเกิดสงคราม ต่อมาก็มีการสร้างหอต่อขึ้นอีกและสร้างเสร็จ 7 ชั้น ในปี ค.ศ.1319 แต่หอระฆังถูกสร้างเสร็จในปี ค.ศ.1372 โดยใช้เวลาสร้างทั้งหมด 177 ปี
หลังจากนั้น ในปี ค.ศ. 1990-2001 หอเอนปีซาได้รับการปรับปรุงฐานให้แข็งแรงยิ่งขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้หอล้มลงมา


ประวัติ

กาลิเลโอ กาลิเลอิ เคยใช้หอนี้ทดลองเกี่ยวกับเรื่อง แรงโน้มถ่วง ในตอนที่เขาเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยปิซา โดยใช้ลูกบอล 2 ลูกที่น้ำหนักไม่เท่ากันทิ้งลงมา เพื่อพิสูจน์ว่า ลูกบอล 2 ลูกจะตกถึงพื้นพร้อมกัน ซึ่งก็เป็นไปตามที่กาลิเลโอคาดไว้

ในปี ค.ศ.1934 เบนิโต มุสโสลินี พยายามจะทำให้หอกลับมาตั้งฉากดังเดิม โดยเทคอนกรีตลงไปที่ฐาน แต่กลับทำให้หอยิ่งเอียงมากขึ้นไปอีก กองทัพสหรัฐฯ ตัดสินใจไม่ยิงปืนใหญ่ใส่หอเอนเมืองปิซา
วันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1964 รัฐบาล
อิตาลี พยายามหยุดการเอียงของหอเอนเมืองปิซา โดยผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ เช่น วิศวกร นักคณิตศาสตร์ และนักประวัติศาสตร์ โดยใช้เหล็กรวมกว่า 800 ตัน ค้ำไว้ไม่ให้หอล้มลงมา

ในวันที่ 7 มกราคม ค.ศ.1990 หอเอนเมืองปิซาถูกปิดไม่ให้นักท่องเที่ยว เพื่อความปลอดภัย อีกทั้งยังขุดดินของอีกด้านหนึ่งออก เพื่อให้สมดุลยิ่งขึ้น และในวันที่ 15 ธันวาคม 2001 หอเอนเมืองปิซาถูกเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมอีกครั้ง และถูกประกาศว่าสมดุลแล้วใน 300 ปีต่อมาหลังจากเริ่มทำการปรับปรุง
ค.ศ.1987 หอเอนเมืองปิซาถูกประกาศให้เป็นมรดกโลก โดยเป็นส่วนหนึ่งของ Piazza Dei Miracoli หอเอนเมืองปิซายังเป็น 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคกลางอีกด้วย

นอกจากนี้หอเอนเมืองปิซานี้ช่วยให้กาลิเลโอ นักวิทยาศาสตร์ ชาวอิตาเลียน ผู้มีชื่อเสียงของโลก ได้ทดลองความจริง เรื่องน้ำหนักของของที่ตกเป็นผลสำเร็จอีกด้วย*


วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

คลีโอพัตรา ที่ 7 ฟิโลปาตอร์


คลีโอพัตรา ที่ 7 ฟิโลปาตอร์ (Κλεοπάτρα θεά φιλοπάτωρ หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ คลีโอพัตรา เกิดในเดือนมกราคม 69 ปีก่อนคริสตกาล - เสียชีวิตในวันที่ 30 พฤศจิกายน 30 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นราชินีแห่งอียิปต์โบราณ และเป็นสมาชิกคนสุดท้ายของราชวงศ์ปโตเลมีแห่งมาเซโดเนีย ดังนั้น จึงเป็นผู้ปกครองอียิปต์ที่มีเชื้อสายกรีกคนสุดท้าย บิดาของพระนางคือปโตเลมีที่ 12 โอเลเตส และคาดว่าพระมารดาเป็นเชษฐภคินีของโอเลเตส ทรงพระนามว่า คลีโอพัตราที่ 5 ทรีฟาเอนา ชื่อ"คลีโอพัตรา" เป็นภาษากรีก แปลว่า "ความเจริญรุ่งเรืองของบิดา" พระนามเต็มของพระนางคือ "คลีโอพัตรา เธอา ฟิโลปาตอร์" ซึ่งหมายถึง "เทพีคลีโอพัตรา ผู้เป็นที่รักของบิดา" พระนางทรงมีความเฉลียวฉลาดมาก ทรงแตกฉานถึง 14 ภาษา เช่น ภาษาฮิบรู ภาษาละติน ภาษามาซิโดเนีย ภาษาเอธิโอเปียน ภาษาซีเรีย ภาษาเปอร์เซีย ภาษาอียิปต์ ซึ่งแม้แต่ในราชวงศ์ก็น้อยคนนักที่จะแตกฉานในภาษานี้
ในปัจจุบัน คลีโอพัตรา ที่ 7 ฟิโลปาตอร์ นับได้ว่าเป็นผู้ปกครองอียิปต์โบราณที่มีชื่อเสียงมากที่สุด นิยมเรียกพระนามสั้นๆ ว่า คลีโอพัตรา ซึ่งทำให้ราชินีองค์ก่อนๆ ที่ทรงพระนามคล้ายคลึงกับพระนางถูกลืมไปสิ้น จริงๆ แล้วพระนางไม่เคยปกครองอียิปต์ตามลำพัง แต่ครองราชย์ร่วมกับพระบิดา พระอนุชา พระอนุชา - สวามี หรือไม่ก็พระโอรส แต่อย่างไรก็ดี การครองราชย์ร่วมกันดังกล่าวมีผู้ร่วมบัลลังก์เป็นเพียงกษัตริย์ตามพระยศเท่านั้น อำนาจแท้จริงอยู่ในมือของคลีโอพัตราเองทั้งสิ้น
ประวัติ
คลีโอพัตราที่ 7 เป็นชาวกรีกที่กำเนิดในดินแดนอเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ ได้ขึ้นครองราชย์หลังจากที่ ปโตเลมีที่ 12 แห่งอียิปต์ ขณะนั้นพระนางเบเนไซน์และแม่ทัพอาร์เชลล์ได้ร่วมกันก่อการกบฏขึ้น ทำให้ฟาโรห์ปโตเลมีที่ 12 ออเลติส ต้องไปขอกำลังเสริมจากสภาซีเนตแห่งกรุงโรม ออกัส กาบิเนียส จึงได้ให้องค์ฟาโรห์จ่ายเงินเป็นจำนวน 10,000 เทลแลนด์ แต่องค์ฟาโรห์มีเงินไม่พอ จึงได้ไปขอยืมเงินจากคหบดีผู้ร่ำรวยนาม ราบีเรียส โพลตูมัส เมื่อได้กำลังเสริมแล้วก็กลับไปอียิปต์เพื่อจัดการกับผู้ก่อการกบฏ และได้สั่งประหารพระนางเบเนไซน์และแม่ทัพอาร์เชลล์ ทำให้ราบีเรียสได้เข้ามาเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายพระคลังของอียิปต์
ราบีเรียสได้รีดไถชาวอียิปต์อย่างหนัก ทำให้ชาวอียิปต์ไม่พอใจลุกฮือกันต่อต้านราบีเรียส ทำให้ราบีเรียสต้องรีบหนีกลับไปยังกรุงโรม เมื่อพระบิดาของพระนางสวรรคตในช่วงฤดูใบไม้ผลิของปีที่ 51 ก่อนคริสตกาล พระนางเป็นพระราชธิดาองค์โตของออเลติส เมื่อพระเชษฐภคินีอีกสองพระองค์สิ้นพระชนม์ลง พระนางยังมีพระขนิษฐาอีกองค์ที่มีชื่อว่าอาร์สิโนเอ ในช่วงแรกของการขึ้นครองราชย์ พระนางได้ครองราชย์ร่วมกับพระบิดาเป็นระยะเวลาสั้นๆ ต่อมาก็ได้ครองราชย์ร่วมกับพระอนุชาอีกสองพระองค์ ได้แก่ ปโตเลมีที่ 13 ผู้ซึ่งต่อต้านการปกครองของพวกโรมัน และปโตเลมีที่ 14 แต่เนื่องด้วยการสืบราชบัลลังก์ของราชวงศ์ปโตเลมีนั้นนิยมการสืบเชื้อสายทางมารดา พระอนุชาทั้งสองพระองค์จึงต้องเข้าพิธีอภิเษกสมรสกับพระเชษฐภคินี คือคลีโอพัตรา เพื่อจะสามารถขึ้นครองราชย์ได้อย่างถูกต้องตามกฎมนเทียรบาล ภายหลังจากที่กษัตริย์ผู้เป็นพระอนุชา - สวามีของพระนางสวรรคตลงทั้งสองพระองค์ คลีโอพัตราได้แต่งตั้งให้โอรสของพระนางเป็นกษัตริย์องค์ต่อไป มีพระนามว่าปโตเลมีที่ 15 ซีซาเรียน โดยการครองบัลลังก์ร่วมกัน ระหว่างปีที่ 44 - 30ก่อนคริสตกาล
ในปีที่48 ก่อนคริสตกาล คณะที่ปรึกษาของปโตเลมีที่ 13 นำโดยขันทีโปธินุส ได้ยึดอำนาจของคลีโอพัตราและบังคับให้พระนางหนีไปจากอียิปต์ โดยมีอาร์สิโนเอ พระขนิษฐาของพระนางติดตามไปด้วย ต่อมาในปีเดียวกันนี้ อำนาจของปโตเลมีที่ 13ได้ถูกริดรอนเมื่อนำตัวเองเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับโรม เมื่อนายพลปอมเปอุส มักนุส (ผู้ซึ่งแต่งงานกับลูกสาวของจูเลียส ซีซาร์ โดยที่นางได้เสียชีวิตขณะคลอดบุตรชาย) ที่กำลังหลบหนีจูเลียส ซีซาร์ ได้มาหาที่หลบซ่อนในเมืองอเล็กซานเดรีย ก็ถูกปโตเลมีที่ 13ปลิดชีพ เพื่อสร้างความดีความชอบแก่ตนให้ซีซาร์ได้เห็น จูเลียส ซีซาร์รู้สึกขยะแขยงกับแผนการอันโสมมดังกล่าว จึงได้ยกทัพบุกเข้ายึดเมืองหลวงของอียิปต์ และตั้งตนเป็นผู้ตัดสินคดีชิงบัลลังก์ระหว่างปโตเลมีที่ 13และคลีโอพัตรา หลังจากการสู้รบช่วงสั้นๆ ปโตเลมีที่ 13ก็ถูกสังหาร และ จูเลียส ซีซาร์ได้คืนบัลลังก์ให้แก่คลีโอพัตรา โดยมีปโตเลมีที่ 14เป็นผู้ครองบัลลังก์ร่วม
จูเลียส ซีซาร์ได้พำนักในอียิปต์ตลอดช่วงฤดูหนาว ระหว่างปีที่48 ก่อนคริสตกาล - 47 ก่อนคริสตกาล และคลีโอพัตราได้สร้างความได้เปรียบทางการเมืองให้แก่ตนด้วยการเป็นคนรักของซีซาร์ ทำให้อียิปต์ยังคงเป็นความเป็นเอกราชไว้ได้ แต่ยังคงมีกองกำลังทหารโรมันสามกองประจำการอยู่ ความสัมพันธ์ระหว่างคลีโอพัตรากับซีซาร์ในช่วงฤดูหนาวได้ทำให้นางตั้งครรภ์และให้กำเนิดพระโอรสชื่อปโตเลมี ซีซาร์ (หรือมีชื่อเล่นว่าซีซาเรียน ซึ่งแปลว่าซีซาร์น้อย) อย่างไรก็ดี จูเลียส ซีซาร์ปฏิเสธการให้ซีซาเรียนเป็นผู้สืบทอดของตน และได้แต่งตั้งให้หลานชายชื่อ ออกุสตุส ซีซาร์ อ็อกตาเวียน เป็นผู้สืบทอดอำนาจแทน
คลีโอพัตรากับซีซาเรียนได้ไปเยือนกรุงโรมในระหว่างปีที่ 46 ก่อนคริสตกาล และ 44 ก่อนคริสตกาล และอยู่ในเหตุการณ์ขณะที่ซีซาร์ถูกลอบสังหาร ก่อนเดินทางกลับถึงอียิปต์เพียงเล็กน้อย ปโตเลมีที่ 14ก็สวรรคตอย่างลึกลับ คลีโอพัตราจึงได้แต่งตั้งให้ซีซาเรียนเป็นผู้ครองบัลลังก์ร่วมกับพระนาง มีการสันนิษฐานว่านางได้ลอบวางยาพิษปโตเลมีที่ 14 ผู้เป็นอนุชาของตนเอง
ในปีที่42 ก่อนคริสตกาล มาร์ค แอนโทนี หนึ่งในคณะผู้สำเร็จราชการชุดที่สองของโรม ผู้ซึ่งปกครองกรุงโรมในช่วงที่เกิดสูญญากาศทางอำนาจ หลังการถึงแก่อสัญกรรมของซีซาร์ ได้ขอให้คลีโอพัตราเดินทางมาพบเขาที่เมืองทาร์ซุส ในแคว้นซิลิเซีย เพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับความจงรักภักดีของพระนางต่ออาณาจักรโรมัน เมื่อคลีโอพัตราเดินทางมาถึง เสน่ห์ของพระนางทำให้มาร์ค แอนโทนีเลือกที่จะใช้เวลาช่วงฤดูหนาวระหว่างปีที่42 ก่อนคริสตกาล - ปีที่41 ก่อนคริสตกาล กับพระนางในอเล็กซานเดรีย ในช่วงฤดูหนาวนั้น พระนางได้ทรงพระครรภ์เป็นโอรส - ธิดาฝาแฝด ผู้มีพระนามว่าอเล็กซานเดอร์ เฮลิออส และ คลีโอพัตรา เซเลเน
สี่ปีต่อมา ในปีที่ 37 ก่อนคริสตกาล มาร์ค แอนโทนี ได้เดินทางเยือนอเล็กซานเดรียอีกครั้ง ระหว่างทางไปออกรบกับจักรวรรดิพาร์เธีย เขาได้สานสัมพันธ์กับคลีโอพัตรา และถือเอาอเล็กซานเดรียเป็นบ้านนับแต่นั้นเป็นต้นมา มาร์ค แอนโทนีอาจจะเข้าพิธีอภิเษกสมรสกับคลีโอพัตราตามประเพณีอียิปต์ (ตามที่กล่าวไว้ในจดหมายของสุเอโตนิอุส) แต่อย่างไรก็ดี เขาได้แต่งงานแล้วกับอ็อกตาเวีย น้องสาวของเพื่อนชื่ออ็อกตาเวียน หนึ่งในคณะผู้สำเร็จราชการชุดที่สองของโรม เขามีบุตรกับคลีโอพัตราอีกหนึ่งคน ชื่อว่าปโตเลมี ฟิลาเดลฟุส ในพิธีมอบดินแดนอเล็กซานเดรียเป็นของขวัญชิ้นใหญ่แก่คลีโอพัตราและโอรสธิดา ช่วงปลายปีที่ 34 ก่อนคริสตกาล หลังจากที่มาร์ค แอนโทนีได้มีชัยเหนืออาร์เมเนีย คลีโอพัตรากับซีซาเรียนได้ปกครองอียิปต์กับไซปรัสร่วมกัน อเล็กซานเดอร์ เฮลิออส ได้เป็นกษัตริย์ปกครองอาร์เมเนีย เมเดีย และ พาร์เธีย คลีโอพัตรา เซเรเน ได้เป็นราชินีปกครองซีเรไนกา และ ลิเบีย ส่วนปโตเลมี ฟิลาเดลฟุสได้เป็นกษัตริย์ปกครองโฟนิเซีย ซีเรีย และ ซิลิเซีย นอกจากนี้แล้วคลีโอพัตรายังดำรงตำแหน่งราชินีแห่งราชาทั้งปวงอีกด้วย
มีเหตุการณ์อันโด่งดังเกี่ยวกับคลีโอพัตราหลายเหตุการณ์ แต่เรื่องที่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายที่สุดและไม่อาจตรวจสอบได้ว่าจริงหรือไม่ ได้แก่เหตุการณ์เกี่ยวกับพระกระยาหารค่ำของพระนางกับมาร์ค แอนโทนีมื้อหนึ่งที่มีราคาแพงลิบ พระนางได้หยอกเย้ากับมาร์ค แอนโทนีด้วยการพนันกันว่า เขาเชื่อหรือไม่ว่าพระนางจะสามารถใช้เงินสิบล้านเซสเตอร์ซีอุสกับพระกระยาหารมื้อเดียวได้ ซึ่งเขาก็รับพนัน ในคืนต่อมา พระนางได้เสิร์ฟพระกระยาหารค่ำธรรมดาไม่ได้หรูหราอะไร ทำให้พระนางถูกมาร์ค แอนโทนีล้อ แต่พระนางก็ได้รับสั่งให้เสิร์ฟพระกระยาหารสำรับต่อมา ซึ่งมีเพียงน้ำส้มสายชูอย่างแรงหนึ่งถ้วย จากนั้นพระนางก็ถอดต่างหูไข่มุกอันประมาณค่ามิได้ของพระนางออก หย่อนลงไปในน้ำส้มสายชู ปล่อยให้ไข่มุกละลาย แล้วดื่มส่วนผสมนั้น
พฤติกรรมของมาร์ค แอนโทนี นับว่ากระด้างกระเดื่องมากในสายตาของพวกโรมัน อ็อกตาเวียนจึงได้โน้มน้าวให้วุฒิสภาเปิดสงครามกับอียิปต์ ในปีที่ 31 ก่อนคริสตกาล กองกำลังของมาร์ค แอนโทนีได้เผชิญหน้ากับทหารโรมันด้วยทัพเรือนอกชายฝั่งแอคติอุม คลีโอพัตราได้ร่วมออกรบโดยมีทัพเรือของพระนางเอง แต่พระนางก็ได้เห็นกองเรือของมาร์ค แอนโทนี ที่มีเรือขนาดเล็กและขาดแคลนยุทโธปกรณ์ต้องพ่ายแพ้กับกองเรือโรมันที่มีเรือขนาดใหญ่กว่า พระนางต้องหลบหนีและมาร์ค แอนโทนีได้เลิกรบและหนีตามพระนางไป
หลังจากการรบที่อ่าวแอคติอุม อ็อกตาเวียนก็ได้ยกพลขึ้นบกบุกอียิปต์ ในขณะที่ทัพของอ็อกตาเวียนเกือบจะถึงอเล็กซานเดรีย กองกำลังทหารของมาร์ค แอนโทนีก็หนีทัพไปร่วมกับกองกำลังของอ็อกตาเวียน คลีโอพัตรากับมาร์ค แอนโทนีตัดสินใจปลิดชีพตนเองด้วยกันทั้งคู่ โดยที่คลีโอพัตราได้ใช้งูพิษปลิดชีพพระองค์เองเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม ในปีที่ 30 ก่อนคริสตกาล ซีซาเรียน โอรสของพระนางที่เกิดกับจูเลียส ซีซาร์ก็ถูกอ็อกตาเวียนปลงพระชนม์ โอรสธิดาอีกสามพระองค์ที่เกิดกับมาร์ค แอนโทนีได้รับการไว้ชีวิตและนำกลับไปยังกรุงโรมโดยอ็อกตาเวีย อดีตภรรยาของมาร์ค แอนโทนี
มักกล่าวกันว่าคลีโอพัตราได้ใช้ แอสพฺ (งูพิษชนิดหนึ่ง) ปลิดชีพพระองค์เอง "asp" เป็นศัพท์เทคนิค หมายถึงงูพิษหลากหลายประเภทในอาฟริกาและยุโรป แต่ในที่นี้ หมายถึงงูเห่าอียิปต์ ซึ่งใช้ในการประหารนักโทษในบางครั้ง ยังมีเรื่องเล่าว่าคลีโอพัตราได้ทดสอบวิธีการฆ่าตัวตายต่างๆนานากับข้าราชบริพารหลายคน ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกวิธีการที่พระนางเห็นว่ามีประสิทธิภาพที่สุด
ด้วยที่เป็นชนเชื้อสายกรีก - มาเซโดเนีย ทั้งในด้านภาษาและวัฒนธรรม คลีโอพัตรามีชื่อเสียงในแง่ที่ว่า ตลอดระยะเวลากว่า 300 ปีที่ราชวงศ์ปโตเลมีปกครองอียิปต์นั้น พระนางเป็นสมาชิกคนแรกของปโตเลมีในที่เรียนรู้ภาษาอียิปต์ได้แตกฉาน และ ยังเรียนรู้ภาษาอื่นๆถึง 14 ภาษา ได้แตกฉาน

วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Mount Rushmore<หุบเขาแบล็คฮิลส์ >


เมาน์ท รัชมอร์ : Mount Rushmore <หุบเขาแบล็คฮิลส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา>
เมาน์ท รัชมอร์ (Mount Rushmore) คือภูเขาส่วนที่เป็นหน้าผาหินใช้เกาะสลักเป็นรูปใบหน้าขนาดใหญ่ของ อดีตประธานาธิบดี 4 คนของอเมริกา ผู้ริเริ่มความคิดที่จะสร้างอนุสาวรีย์ให้กับวีรบุรุษของคนอเมริกัน อีกทั้งยัง เป็นจุดดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมาดูผู้นั้นคือ โดนส์ โรบินสัน (Doans Robinson)

โรบินสันได้เชิญปฏิมากรชื่อดังคือ จอห์น กัตซัน บอร์ลัม (John Gutzon Borglum)มาเป็นผู้ดำเนินการ และควบคุมการแกะสลัก งานเริ่มในปี ค.ศ.1924 และเสร็จในปี ค.ศ.1941

ใบหน้าที่แกะสลักไว้เป็นท่านแรกคือ จอร์จ วอชิงตัน ประธานาธิบดีคนแรกของอเมริกา ท่านนี้เกิดเมื่อปี ค.ศ.1732 ที่รัฐเวอร์จิเนีย และได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี เมื่อปีค.ศ.1779

ท่านที่สองคือ โธมัส เจฟเฟอร์สัน ประธานาธิบดีคนที่สาม เกิดเมื่อปีค.ศ.1743 เจฟเฟอร์สันได้รับเลือกเป็น ประธานาธิบดีถึง 2 สมัยติดกัน

ส่วนท่านที่สามคือ ธีโอดอร์ รูสเวลท์ ประธานาธิบดีคนที่ 26 ผู้ที่ทำให้โครงการขุดคลองปานามาสำเร็จลงได้ในปี ค.ศ.1903

และท่านสุดท้ายคือ อับราฮัม ลินคอล์น ท่านผู้นี้ได้รับเลือกให้เป็นประธานาบดีของอเมริกาเมื่อปีค.ศ.1860 และคนที่16ของประเทศ

งานแกะสลักใบหน้าทั้งสี่เสร็จสิ้นเรียงลำดับตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น คือ ปีค.ศ.1930-1936-1939 และ 1937 โดยโครงการนี้เสร็จ สิ้นจริงๆ ในปีค.ศ.1941 ซึ่งปัจจุบันเครื่องไม้เครื่องมือที่ใช้ในการทำงานครั้งนั้น ก็ยังคงเก็บรักษาและวางแสดง อยู่บริเวณเชิงเขา ให้ประชาชนได้เข้าชมทุกวัน ปกติฤดูร้อนจึงจะมีนักท่องเที่ยวมากันเยอะ เพราะอากาศจะเย็นสบาย

วันพุธที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2553

พระกระยาหารมื้อสุดท้าย (เลโอนาร์โด)




พระกระยาหารค่ำมื้อสุดท้าย หรือ The Last Supper ในภาษาอังกฤษ และ Il cenacolo หรือ L'ultima cena ในภาษาอิตาลี เป็นจิตรกรรมฝาผนัง ที่วาดโดยเลโอนาร์โด ดา วินชี ให้แก่ผู้อุปถัมภ์ดยุค โลโดวิโค สฟอร์ซา (Lodovico Sforza) เป็นภาพที่มาจากพระกระยาหารค่ำมื้อสุดท้ายของพระเยซู ก่อนที่พระองค์จะทรงถูกนำไปตรึงกางเขนซึ่งเป็นข้อมูลที่มาจากคัมภีร์ไบเบิ้ล ภาพวาดนี้ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ เนื่องจากถูกวาดด้วยปูนเปียกบนผนัง ภาพวาดนี้ยังถือว่าเป็นภาพวาดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของเลโอนาร์โด ดา วินชี ที่ยังคงสภาพให้มองเห็นได้ในปัจจุบัน และยังถือได้ว่าเป็นหนึ่งในบรรดาจิตรกรรมที่รู้จักกันอยู่ทั่วโลก

ภาพวาดนี้ยังเป็นแกนสำคัญของการเดินเรื่องราวของนวนิยายชื่อดังของโลก รหัสลับดาวินชี ที่มีเนื้อหาระบุว่า เลโอนาร์โด ดา วินชี ได้แฝงปริศนาความลับไว้ในภาพโดยแสดงถึงสาวกหญิงใกล้ชิดผู้หนึ่งซึ่งมีสัมพันธ์กับพระเยซู ซึ่งเนื้อหาดังกล่าวได้รับการคัดค้านจากศาสนาจักรคาทอลิกอย่างรุนแรง


คำอธิบายภาพ


ภาพพระกระยาหารค่ำมื้อสุดท้าย เป็นภาพที่บรรยายถึงช่วงเวลาสำคัญที่สุดช่วงหนึ่ง คือเมื่อพระเยซูได้ทำนายว่า หนึ่งในผู้ร่วมโต๊ะอาหารมื้อนั้นจะทรยศพระองค์

ที่มุมขวาสุดจากขวามาซ้ายคือ นักบุญซิโมเน นักบุญยูดา ทัดเดโอ คนที่ห้าจากทางขวามือที่ยกมือขึ้นด้วยความประหลาดใจ คือนักบุญเจมส์ ถัดมาคือนักบุญฟิลิปโป ที่ยกมือแสดงอาการตกใจเช่นกันและยืนยันถึงความบริสุทธิ์ของตน นักบุญเปียโตร (คนที่ห้าจากทางซ้ายมือ) มองลงด้านหน้าทันทีในขณะที่ยูดาผงะถอยไปด้วยความรู้สึกผิด ตรงกลางสุดคือพระเยซู

ยังมีภาพพระกระยาหารค่ำมื้อสุดท้ายของ เลโอนาร์โด ดา วินชี ที่ถูกเลียนแบบขึ้นในที่ต่างๆ ได้แก่
Chiesa Minorita ที่ เวียนนา
พิพิธภัณฑ์ ดา วินชี ในโบสถ์ Tongerlo ของเบลเยียม
โบสถ์ท้องถิ่นที่ Ponte Capriasca ใกล้ๆ ลูกาโน