วันศุกร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ดอกมะลิ

ดอกมะลิ เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ ก็เนื่องจาก ดอกมะลิเป็นดอกไม้ที่มีสีขาวบริสุทธิ์ ส่งกลิ่นหอมไปไกลและหอมได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี เปรียบได้กับ ความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูกไม่มีวันเสื่อมคลาย…



วันพฤหัสบดีที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ขนมเค้กฝรั่งเศส







วนิลาโชเฟ่ล


วนิลาโชเฟ่ล คล้ายๆครีมวนิลาซอสกับแป้งหอมๆเป็นขนมฝรั่งเศส

ไวท์ช็อคโกแลตทานกับไอศครีมคุ้กกี้และมิลค์ช็อคโกแลต

ไวท์ช็อคโกแลตทานกับไอศครีมคุ้กกี้และมิลค์ช็อคโกแลต ด้านในมิลค์ช็อคโกแลต เป็นไวท์ช็อคโกแลตเย็นสอดไส้ผลไม้เรียกว่ารูบาร์บ ออกเปรี้ยวๆ ตัดกับรสหวานของช็อคโลต

Clairefontaine Orange Grand Marnier

Clairefontaine Orange Grand Marnier ชิ้นนี้เป็นบาวาเรี้ยนครีมส้ม มีกลิ่นของเหล้า Grand Marnier นิดๆ ผสมกับแยมส้ม เสิร์ฟพร้อมไอศกรีมรสส้ม รสชาติเปรี้ยว น่าจะถูกใจคุณสาวๆ Religieuse Cafe เป็นแป้ง Chou คล้ายกับเอแคลร์ มีจุดเด่นที่ความนุ่มทั้งนอกและในที่สอดไส้ครีมคัสตาร์ดรสกาแฟ Douceur Noisette ช็อกโกแลตที่สลับชั้นกับ ช็อกโกแลตมูส, เฮเซลนัทบิสกิต และมิลค์ช็อกโกแลตวิปปิ้งครีม ทั้งกรอบ ทั้งเข้มข้น

ขนม Madeleine

ขนม Madeleine เป็นขนมพื้นบ้านเหมือนคุ้กกี้ของคนฝรั่งเศส นิยมทานคู่กับกาแฟเหมือนขนม Macaron แต่ขนม Madeleine ราคาถูกกว่า ทำเองได้ง่าย คนจึงนิยมทานมากกว่าสำหรับคนฝรั่งเศส ขนม Madeleine ทานได้ทุกๆวัน ในขณะที่ Macaron จะทานกันเฉพาะในวาระพิเศษ

พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 เมื่อทรงเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์ (2)

พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 เมื่อยังทรงพระเยาว์ทรงยืนข้างพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 พระราชบิดา พระราชมารดาสมเด็จพระราชินีเฮนเรียตตา มาเรียทรงอุ้มดยุคแห่งยอร์ค พระอนุชา
พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 เมื่อทรงเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์โดย วิลเลียม ดอบสัน (William Dobson) ราว ค.ศ.1642 หรือ ค.ศ.1643 พระเจ้าชาร์ลส์ สจ๊วตพระราชโอรสองค์โตของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งสกอตแลนด์และไอร์แลนด์และสมเด็จพระราชินีเฮนเรียตตา มาเรีย เสด็จพระราชสมภพที่พระราชวังเซนต์เจมส์ เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ.1630 และทรงรับศีลจุ่มที่ชาเปลรอยัลเมื่อวันที่ 27 มิถุนายนโดยบาทหลวงอังกลิคันวิลเลียม ลอด ผู้ขณะนั้นเป็นบาทหลวงแห่งลอนดอน ทรงได้รับการเลี้ยงดูโดยแมรี แซ็ควิลล์ เคานเทสแห่งดอร์เซ็ท (Mary Sackville, Countess of Dorset) ผู้เป็นโปรเตสแตนต์ แต่ก็ทรงมีพ่อแม่ทูนหัวที่เป็นโรมันคาทอลิกที่เป็นพระประยูรญาติทางพระมารดา ซึ่งรวมทั้งพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 แห่งฝรั่งเศสและพระราชมารดาของพระเจ้าหลุยส์ พระพันปีมารี เดอ เมดิชิ พระองค์ทรงได้รับตำแหน่งดยุคแห่งคอร์นวอลล์และดยุคแห่งรอธเซย์ (Duke of Rothesay) เมื่อประสูติ
ในฐานะที่ทรงเป็นพระราชโอรสองค์โตของพระมหากษัตริย์ เมื่อมีพระชนมายุได้ 8 พรรษาก็ทรงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็นเจ้าชายแห่งเวลส์ แต่มิได้มีพิธีแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1640 เมื่อยังทรงพระเยาว์ พระราชบิดาทรงต่อสู้กับกองทัพของฝ่ายรัฐสภา และกลุ่มเพียวริตันในสงครามกลางเมืองอังกฤษ เจ้าชายชาร์ลส์ทรงติดตามพระราชบิดาในยุทธการเอ็ดจฮิลล์ เมื่อมีพระชนมายุได้ 14 พรรษา ก็ทรงเข้าร่วมในการรณรงค์ใน ค.ศ.1645 และทรงได้รับแต่งตั้งแต่ในนามให้เป็นผู้บังคับบัญชาทหารแห่งเวสต์คันทรี ในฤดูใบไม้ผลิของปี ค.ศ.1646 พระราชบิดาก็พ่ายแพ้สงคราม เจ้าชายชาร์ลส์จึงเสด็จหนีจากอังกฤษเพื่อความปลอดภัย โดยเสด็จไปหมู่เกาะซิลลีย์ ก่อนที่จะเสด็จต่อไปเจอร์ซีย์ และในที่สุดก็ไปถึงฝรั่งเศสเพื่อไปสมทบกับพระราชมารดา ประทับลี้ภัยอยู่ก่อนหน้านั้นแล้ว พร้อมกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสผู้เป็นลูกพี่ลูกน้องของพระองค์ซึ่งขณะนั้นมีพระชนมายุได้ 8 พรรษา
ในปี ค.ศ.1648 ระหว่างสงครามกลางเมืองอังกฤษครั้งที่ 2 เจ้าชายชาร์ลส์ก็ทรงย้ายไปเฮกในเนเธอร์แลนด์ไปประทับกับพระพระเชษฐภคินีเจ้าหญิงแมรีและพระสวามีวิลเลียมที่ 2 เจ้าชายแห่งออเรนจ์ เพราะทรงเชื่อว่าทั้งสองพระองค์อาจจะทรงสนับสนุนฝ่ายนิยมกษัตริย์มากกว่าพระญาติทางฝรั่งเศส
เมื่อทรงพยายามยกกองทัพไปช่วยพระราชบิดา แต่กองทัพภายใต้การนำของพระองค์ไปถึงสกอตแลนด์ไม่ทันที่จะสมทบกับกองกำลัง “Engagers” ที่สนับสนุนพระราชบิดาที่นำโดยเจมส์ แฮมมิลตัน ดยุคแห่งแฮมมิลตันที่ 1 ก่อนที่จะพ่ายแพ้ในยุทธการเพรสตันในปี ค.ศ. 1648
ระหว่างที่ประทับอยู่ที่กรุงเฮก เจ้าชายชาร์ลส์ทรงมีความสัมพันธ์กับ ลูซิ วอลเตอร์ (Lucy Walter) อยู่พักหนึ่งผู้ต่อมาถึงกับอ้างว่าได้เจ้าชายชาร์ลส์ทรงแต่งงานอย่างลับๆ ด้วย ทรงมีพระโอรสกับลูซิ วอลเตอร์คนหนึ่งคือเจมส์ ครอฟต์ส ต่อมาเป็นเจมส์ สกอตต์ ดยุคแห่งมอนม็อธที่ 1 ผู้ต่อมากลายมามีบทบาทสำคัญในทางการเมืองของอังกฤษ
พระราชบิดาของพระองค์พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ทรงถูกจับกุมในปี ค.ศ. 1647 ทรงหลบหนีจากการคุมขังได้ แต่ก็มาทรงถูกจับอีกครั้งหนึ่งในปี ค.ศ.1648 แม้ว่าเจ้าชายชาร์ลส์จะทรงพยายามหาทางช่วยทางการทูตในการปลดปล่อยพระองค์แต่ก็ไม่สำเร็จ
ในที่สุดพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ก็ทรงถูกปลงพระชนม์ในข้อหากบฏต่อแผ่นดินเมื่อวันอังคารที่ 30 มกราคม ค.ศ.1649 หลังจากนั้นอังกฤษก็เข้าสู่สมัยสาธารณรัฐ

เวียนนา เมืองแสนสวยถิ่นกำเนิดเพลงวอลทซ์

“เมืองหลวงแห่งดนตรี บ้านเกิดของคีตกวีของโลก และตำนานอันยิ่งใหญ่แห่งอาณาจักรออสโตร-ฮังกาเรียน เจ้าของแม่น้ำดานูบอันเลื่องชื่อ หลังคาทองที่โด่งดัง และอ้อมกอดภูเขาแสนโรแมนติก” ผมนึกถึงข้อความในหนังสือคู่มือแนะนำการเดินทางประเทศออสเตรีย เครื่องบินเดินทางถึงสนามบินกรุงเวียนนา เวลา 05.45 น. หลังจากที่รับกระเป๋าสัมภาระ รวมทั้งทำธุระส่วนตัวเสร็จแเราเริ่มออกเที่ยวเลยทันทีเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เวลาที่ออสเตรียช้ากว่าเมืองไทยเรา 5 ชั่วโมง ทำให้เราได้เปรียบในเรื่องของเวลา สถานที่แรกไปเที่ยวคือ พระราชวัง Belvedare ป็นพระราชวังที่มีปีกสมมาตรกัน สร้างขึ้นระหว่าง ค.ศ. 1714-1723 ให้กับเจ้าชายยูจีน ซึ่งมีคนกล่าวขานกันว่ามีความเป็นอยู่ดีกว่าจักรพรรดิเสียอีก เจ้าชายยูจีน ท่านเป็นนักรบที่เก่งมาก จะไม่เก่งได้ยังไง เวลาไปรบ หากใครถอยพระองค์ฆ่าทิ้งเลย เจ้าชายยูจีนทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดสามารถรบชนะได้ดินแดนฮังการี ปัจจุบันพระราชวังดังกล่าวใช้เป็นพิพิธภัณฑ์
ประเทศออสเตรีย หรือเรียกว่า สาธารณออสเตรีย ประชาชนกว่า 90% นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก และอีก 6% นับถือนิกายโปรแตสแตนท์ ซึ่งในอดีตเคยมีสงครามศาสนายาวนานถึง 30 ปี การต่อต้านการปฏิรูปทางศาสนาก่อให้เกิดศิลปะบาโรก ว่ากันว่ากรุงเวียนนาคือเมืองหลวงแห่งศิลปะบาโรกของยุโรปกลาง ดูได้จากโบสถ์พระเยซูอิต เคียร์เดอ อัม โฮฟ ที่สร้างตามโบสถ์เยซูอิตในโรม ดังนั้น สถาปัตยกรรมบาโรกจะสังเกตุได้จากโบสถ์ในเมืองเวียนนา หากเดินไปย่านใจกลางเมืองเก่า เส้นถนน Rotenturmstr จะพบกับมหาวิหารเซนต์สเตฟาน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเวียนนา สร้างแล้วเสร็จใน ค.ศ. 1435 โบสถ์นี้มีการปฏิรูปคู่เคียงกับการปฏิรูปศาสนามีการเปลี่ยนแปลงศิลปะกอทิกมาเป็นบาโรก บริเวณใกล้กับวิหารเซนต์สเตฟานเป็นถนนคนเดิน มีร้านค้าขายของมากมาย จะมีการตั้งโต๊ะและเก้าอี้ตามทางเท้า หรือ กลางถนน ทำให้ได้รสชาติของกาแฟและเค้กมันช่างแสนอร่อยถึงแม้ว่าราคาจะแพงก็ตาม และเมื่อมาถึงถนน Schubertring Park-ring คือสวนสาธารณะ Stadtpark เป็นสวนเขียวขจีที่เต็มไปด้วยรูปปั้นครึ่งตัว ที่โดดเด่นที่สุดรูปเต็มตัวของ Johann Strauss ราชาเพลงวอลทซ์ ที่โด่งดัง
เราออกมานอกเมืองเก่า เพื่อไปพระราชวัง Schonbrunn ซึ่งสร้างตั้งแต่ปี ค.ศ.1696 โดยพยายามเลียนแบบพระราชวังแวร์ซายส์ในขนาดที่เล็กกว่า และเมื่อปี 1740 พระนางมาเรียเทราซา ขึ้นเถลิงถวัลย์ขึ้นเป็นจักรพรรดินี พระนางมีรับสั่งให้สร้างใหม่มีห้องพักนิดหน่อยแค่ 1,441 ห้องแค่นั้นเอง พระราชวังแห่งนี้เป็นสถานที่เกิดเหตุสำคัญต่างๆ ในประวัติศาสตร์ออสเตรียมากมาย พูดถึงความเป็นมาของกฎหมายแพรกมาทิก แซงก์ชั่น ตอนที่พระเจ้าคาร์ลอยู่ในวัย 28 ชันษาก็ทรงกลัดกลุ้มพระทัยที่ไม่มีโอรสสืบบัลลังก์ เพราะไม่มีกฎหมายที่จะยินยอมให้ธิดาสืบทอดได้ จนในปี ค.ศ. 1713 จึงอาศัยช่องโหว่ของกฎหมายที่ให้พระองค์ออกกฎหมายโดยไม่ต้องรอความเห็นชอบจากสภาไดเอท เมื่อครั้งยังทรงเป็นเจ้าหญิงมาเรียเทราซาวัย 15 ชันษา พระเจ้าคาร์ลทรงเห็นว่า มาเรีย เทเรซา ควรจะอภิเษกกับ เจ้าชายเฟรดเดอรริค มกุฎราชกุมาร ปรัสเซีย กลับยืนกรานที่จะแต่งงานกับฟรานซ์ ซเตฟาน ทายาทแห่งรัฐลอร์เรน และทรงเป็นนัดดาของผู้บัญชาการที่ปิดล้อมเวียนนา ดังนั้นฝรั่งเศสจึงใช้กฏหมายแพรกมาทิน แซงก์ชั่นเรียกร้องให้เจ้าบ่าวสละรัฐลอร์เรนให้กับฝรั่งเศษ ในประวัติศาสตร์เขียนว่า พระองค์ทรงหยิบปากกาถึงสามครั้งสามครา จนถูกถากถางว่า ไม่สละราชสมบัติ ก็ไม่มีเจ้าหญิง จึงจำยอมด้วยความจำใจ และในปี ค.ศ. 1736 ทั้งคู่ได้อภิเษกสมรสกัน และเหตุจากกฎหมายแพรกมาทิก แซงก์ชั่นทำให้พระองค์ต้องเข้าสู่สงครามแห่งความหายนะถึงสองครั้งสองคราว ขณะที่พระนางมาเรีย เทราซาได้กำเนิดโอรสที่ทรงพระครรภ์ในช่วงที่ขึ้นครองราชย์ ปี ค.ศ.1740 เป็นจักรพรรดินี พระนางได้เดินทางพร้อมพระโอรสเพื่อหาทางผลักดันผู้รุกรานซิเลเซีลทั้งจากบาวาเรียและฝรั่งเศส ด้วยการวิงวอนขอความช่วยเหลือจากฮังการี ซึ่งพระนางสามารถริบมงกุฎจักรพรรดิแห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์กลับคืนมาได้ แต่ก็ไม่ได้ซิเลเซียคืน ครั้นจะเอามงกุฎไว้เองคงไม่เหมาะ จงยกให้พระสวามีในปี ค.ศ.1745 ซึ่งต่อมาอีก 19 ปี โอรสโยเซฟที่ 2 ได้ขึ้นเป็นจักรพรรดิแห่งโรมมันอันศักดิ์สิทธิ์

นอกเรื่องไปไกลเลย กลับเข้ามาเที่ยวภายในพระราชวัง Schonbrunn จุดเด่นของพระราชวังนี้ ได้แก่ ห้องกระจกโวล์ฟกัง อมาเดอุส โมซาร์ท หนูน้อยอัจฉริยะ เกิดที่เมืองชาลช์บูร์ก ไม่น่าเชื่อว่าโมซาร์ทจะเกิดมาทัน เพราะโมซาร์ทเกิดในปี ค.ศ. 1756 ห้องจีนสีฟ้าที่สะท้อนศิลปโรโกโก้ ตกแต่งด้วยศิลปะจีน ที่น่าทึ่งคือ ผ้าไหมทอมือจากจีน ที่เอามาประดับในห้อง สวยงามมาก ทำให้รู้ว่าในสมัยนั้น นิยมนำเข้าของจากจีน โดยเฉพาะผ้าไหม กระเบื้อง ต้นส้ม รวมทั้งการลงรักปิดทอง ถือว่าเป็นของทันสมัยมาก แต่ในห้องถัดไปมีภาพที่ชอบมากที่สุดคือภาพวาดผู้ชายไม่ทราบว่าเป็นใคร ที่เท้าซ้ายจะชี้ตามเราตลอดเลย ไม่ว่าเราจะอยู่มุมไหนของห้อง ภาพวาดส่วนใหญ่จะเน้นที่พระนางมาเรีย เทเรซาเป็นหลัก เพราะทุกคนในภาพจะไม่มีใครเด่นเกินพระนางเลย และภาพปูนเปียกบนเพดานที่วาดยกย่องวราชวงศ์ฮัมบูร์ก และลอร์เรน แต่ส่วนที่วิจิตรที่สุดคือ พระราชอุทานที่มีทั้งน้ำพุเทพเนปจูน ปูชนียสถานแบบโรมัน และอนุสรณ์กลอรีทเทอ สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองที่สามารถต้านการรุกชองเฟรดเดอริคมหาราชได้ ปลายอุทยานมีพัลเมนเฉาส์ที่เพียบพร้อมด้วยเหล็กดัดและกระจก รวมทั้ง สวนสัตว์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ที่ยังคงรักษากรงขังสัตว์ป่าลักษณะศิลปะบาโรกฝีมือของฟราน ซเตฟานใว้ในอุทยาน